เมนู
บทความ
บทความวิชาการ
>> อาเซียน
>> พรบ.การศึกษา
>> การจัดการเรียนรู้
>> คุณลักษณะนิสัย
>> วัดผลประเมินผล
>> ระบบดูแลนักเรียน
>> วิจัยในชั้นเรียน
>> หลักสูตร 2551
บทความวิทยาศาสตร์
>> รวมคำขวัญวันวิทยาศาตร์
>> เกิดอะไรขึ้นในสมอง
>> science-news
>> สีสันวิทยาศาสตร์
>> วิทยาศาสตร์น่ารู้
>> วิทย์ระดับประถม
>> คลังความรู้วิทยาศาสตร์
>> 10 กลวิทยาศาสตร์สนุก
>> เด็กวิทย์สนุกคิด
>> เทคโนโลยีและชีวภาพ
>> วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์
>> นิทานวิทยาศาสตร์
>> เกร็ดวิทย์ชวนรู้
>> บทความวิทยาศาสตร์
>> ข่าววิทยาศาสตร์
>> การทดลองวิทยาศาสตร์
บทความน่าสนใจ
>> เอลนีโญและลานีญา
>> พืชสมุนไพร
>> เตรียมตัวสู้น้ำท่วม
>> สื่ออีเลิร์นนิ่ง
>> สื่อ Teblet
>> สึนามิ
>> ข้อคิด คติเตือนใจ
>> ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์
>> พืชดูดสารพิษ
บทความสุขภาพ
>> ผักบุ้งนา ประหยัดสุด
>> อาบน้ำลดน้ำหนัก
>> ช่วยตับขับพิษ
>> การแกว่งแขนบำบัด
>> ครีมเทียม ยิ่งมากยิ่งเสี่ยง
>> ของเสียในร่างกาย
>>12 วิธีการลดคลอเลสเตอรอล
>> 15 วิธีลดไขมัน
>> สมุนไพรลดไขมัน
>> บ้านสุขภาพ
>> อาหารกลางวัน
>> คำนวณภาวะโภชนาการ
>> โภชนาการน่ารู้
>> ธงโภชนาการ
>> 10 อย่างที่ควรรับประทาน
>> อาหารสุขภาพ
>> อาหารและสุขภาพ
>> สาระน่ารู้ต่างๆ นาๆ
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ17/04/2012
อัพเดท31/12/2015
ผู้เข้าชม403951
แสดงหน้า524318


สัญญาณเตือนสมองเสื่อม

อ่าน 231 | ตอบ 0
Photo: สัญญาณเตือนว่าสมองของเราเริ่มเสื่อมแล้ว 

สมองของคนเราประกอบไปด้วยเซลล์สมองนับเป็นพันๆ ล้านตัว ซึ่งเซลล์สมองมีลักษณะที่เปราะบางมาก และเมื่อเซลล์เหล่านี้ตายไปก็จะไม่มีการงอกขึ้นทดแทนได้ใหม่เหมือนผมและเล็บ

โดยธรรมชาติเมื่อคนเราอายุมากขึ้นจำนวนของเซลล์สมองก็จะลดจำนวนลงหรือที่เรียกว่าสมองเริ่มเสื่อมถอย และถ้ามีปัจจัยของโรคต่าง ๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเนื้องอกหรือมะเร็งในสมอง โรคซิฟิลิสขึ้นสมอง โรคไทรอยด์ต่ำ โรคตับวาย โรคไตวาย รวมทั้งมีภาวะติดเหล้า ติดยาเสพติดหรือใช้ยานอนหลับเป็นระยะเวลานาน ก็จะยิ่งมีผลทำให้เซลล์สมองลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีกเพราะมีการถูกทำลาย

ภาวะของสมองเสื่อมมักพบในกลุ่มของผู้สูงอายุ โดยเฉลี่ยมักพบในกลุ่มอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ซึ่งวิธีสังเกตถึงสัญญาณเตือนว่าสมองของตัวคุณเองหรือของคนใกล้ตัวเริ่มเสื่อมแล้วหรือยัง มีดังนี้

1. หลงลืมข้อมูลที่มีความสำคัญ

ความจริงแล้วอาการหลง ๆ ลืม ๆ เป็นเรื่องปกติของคนที่มีวัยมากขึ้น เช่น ลืมว่าวางของไว้ที่ไหน แต่คนใกล้ชิดอาจต้องสังเกตว่าหากเป็นการลืมสิ่งที่สำคัญและพบเห็นอยู่ทุกวันในชีวิตนั้นถือว่าเป็นเรื่องไม่ปกติ เช่น ลืมคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดที่เห็นหน้ากันอยู่ทุกวัน หรือการลืมสิ่งที่เพิ่งทำไปในระยะเวลาอันสั้น เช่นเพิ่งทานข้าวเสร็จไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เมื่อมีใครมาถามว่ากินข้าวหรือยัง กลับบอกว่ายังไม่ได้กินหรือจำไม่ได้แล้ว ลักษณะหลงลืมเช่นนี้อาจวิเคราะห์ได้ว่าผู้นั้นเข้าข่ายของการมีความเสื่อมถอยทางสมองแล้วก็เป็นได้

2. หลงลืมทิศทาง

ข้อนี้เป็นพฤติกรรมที่เป็นอันตรายมากที่สุดอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุที่มีอาการของโรคสมองเสื่อม ผู้อ่านคงเคยชินกับข่าวประกาศหาผู้สูงอายุที่หายออกจากบ้านผ่านทางรายการวิทยุและสื่อต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ ซึ่งอาจเกิดจากผู้สูงอายุเดินทางออกจากบ้านแล้วหาทางกลับบ้านไม่ถูก จำทางกลับบ้านไม่ได้หรือจำไม่ได้แม้กระทั่งซอยหรือละแวกที่อยู่อาศัย ผู้เขียนเคยได้ยินเรื่องหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหลายสิบปีมาแล้วที่มีผู้สูงอายุหายออกจากบ้านไป โดยผู้สูงอายุท่านนี้เป็นผู้ที่มีความรู้สูงลูกหลานก็พยายามตามหาโดยประกาศออกทางหนังสือพิมพ์ที่มีรายละเอียดและรูปของผู้สูงอายุท่านนี้ ปรากฏว่าผู้สูงอายุท่านนี้เดินออกจากบ้านไปเรื่อยๆ เพราะจำบ้านของตนเองไม่ได้ รวมทั้งจำไม่ได้ด้วยว่าตนเองเป็นใคร ชื่ออะไร ในที่สุดหลงเดินเข้าไปในบ้านหลังหนึ่งและผู้สูงอายุท่านนี้ได้มาขออาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น ซึ่งเจ้าของบ้านเป็นคนมีจิตใจดีจึงได้ดูแลผู้สูงอายุท่านนี้ไว้ โดยผู้สูงอายุท่านนี้ได้คอยช่วยสอนการบ้านให้หลานเจ้าของบ้านอีกด้วย แต่ในที่สุดเรื่องนี้ได้จบลงแบบ Happy Ending เพราะเจ้าของบ้านได้อ่านพบข่าวในหนังสือพิมพ์และได้พาผู้สูงอายุท่านนี้ไปส่งที่บ้านในที่สุด

ดังนั้น หากเป็นไปได้จึงไม่ควรให้ผู้สูงอายุของเราเดินทางไปไหนมาไหนโดยลำพัง หากไม่สามารถจะไปกับท่านได้อาจต้องใช้วิธีจ้างรถรับจ้างที่พอจะรู้จักคุ้นเคยกัน หรือจ้างจากแหล่งที่น่าเชื่อถือที่จะติดตามตรวจสอบได้ให้พาท่านไปแทน และควรจะมีนามบัตรซึ่งมีที่อยู่ ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของคนดูแลติดไว้ในกระเป๋าของผู้สูงอายุของเราด้วยเพื่อจะสามารถติดต่อถึงกันได้

3. คิดคำพูดไม่ออก

สัญญาณหนึ่งของคนที่มีอาการสมองเสื่อมคือ การมีปัญหาในการใช้ภาษาโดยความสามารถในการใช้ภาษาลดลงอย่างเห็นได้ชัด อาจเริ่มจากการเรียกชื่อสิ่งของต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง เช่น เห็นพัดลม อาจจะเรียกชื่อไม่ถูก หรือเรียกแค่ พัด เฉย ๆ หรือถามว่าอาหารอร่อยไหม เปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไร ก็จะอธิบายถึงรสชาติอาหารไม่ได้

4. มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด

เช่น จากคนที่เคยเป็นคนสุภาพเรียบร้อยระมัดระวังตัว อาจจะกลายเป็นคนไม่สุภาพไม่ระมัดระวังตัวเหมือนเช่นเคย เช่น ไม่ยอมขับถ่ายในห้องน้ำ แต่จะปัสสาวะและอุจจาระเรี่ยราดไม่เป็นที่เป็นทาง ไม่ยอมสวมเสื้อผ้า หรือจากคนที่ช่างพูดกลายเป็นคนเงียบ ๆ มีอาการซึมเศร้า จากคนอารมณ์ดีกลายเป็นคนอารมณ์ร้ายหรือทำร้ายผู้อื่น หรือทำลายข้าวของ

5. ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำเป็นประจำได้เหมือนเดิม

เช่น เคยขับรถได้ แต่ตอนนี้ขับไม่ได้แล้วเพราะลืมไปแล้วว่าวิธีขับ ๆ อย่างไร เคยเปิดปิดโทรทัศน์ได้ เคยใช้โทรศัพท์ได้ แต่ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการสมองเสื่อมอาจไม่สามารถทำหรือคิดเรื่องที่ซับซ้อนเหมือนเดิมได้อีกต่อไป เช่น อ่านหนังสือไม่ออกหรือคิดเลขไม่ได้

6. มีอาการคลุ้มคลั่ง

ในกรณีของผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการใช้ยาเสพติดติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง เสียสติ ประสาทหลอน และมีผลโดยตรงต่อการทำให้เกิดสมองเสื่อม จดจำอะไรไม่ค่อยได้ อีกทั้งมีพฤติกรรมแปรปรวนถึงขั้นทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้

จริง ๆ แล้วอาการสมองเสื่อมเกิดขึ้นได้กับทุกคนเนื่องจากวัยที่มากขึ้น เพียงแต่จะมากหรือจะน้อยอยู่ที่ปัจจัยแวดล้อมต่างหาก หากคนที่ไม่ได้เป็นโรคประจำตัวใด ๆ เลยอาจมีความเสื่อมถอยของสมองน้อย เหมือนเช่นที่เราเห็นผู้สูงอายุวัย 90 กว่ายังมีความจำที่ดีอยู่ แต่หากท่านใดที่มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน ความเครียด อาจมีผลให้สมองเสื่อมถอยเร็วขึ้น

ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงทั้งกายและใจ ทำให้อารมณ์แจ่มใส ไม่เครียด แต่หากเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีโรคประจำตัวขึ้นมาก็ควรรีบรักษา เพราะอาจส่งผลต่อระบบการทำงานของสมองได้ และที่สำคัญคือหากเราต้องดูแลผู้ที่มีอาการสมองเสื่อมแล้ว เราต้องใจเย็นและมีความเห็นใจท่านเหล่านั้นให้มาก เพราะเขาจะดูแลตัวเองไม่ได้เหมือนเดิม เมื่อเรามีหน้าที่ดูแลท่านก็ดูแลให้ได้ดีที่สุดเหมือนกับตอนที่ท่านยังหนุ่มสาวท่านก็เลี้ยงดูเราอย่างดีเสมอมา

http://www.com5dow.com/บทความที่น่าสนใจ/2456-6-สัญญาณเตือนว่าสมองของเราเริ่มเสื่อมแล้ว.html
สมองของคนเราประกอบไปด้วยเซลล์สมองนับเป็นพันๆ ล้านตัว ซึ่งเซลล์สมองมีลักษณะที่เปราะบางมาก และเมื่อเซลล์เหล่านี้ตายไปก็จะไม่มีการงอกขึ้นทดแทนได้ใหม่เหมือนผมและเล็บ

โดยธรรมชาติเมื่อคนเราอายุมากขึ้นจำน...วนของเซลล์สมองก็จะลดจำนวนลงหรือที่เรียกว่าสมองเริ่มเสื่อมถอย และถ้ามีปัจจัยของโรคต่าง ๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเนื้องอกหรือมะเร็งในสมอง โรคซิฟิลิสขึ้นสมอง โรคไทรอยด์ต่ำ โรคตับวาย โรคไตวาย รวมทั้งมีภาวะติดเหล้า ติดยาเสพติดหรือใช้ยานอนหลับเป็นระยะเวลานาน ก็จะยิ่งมีผลทำให้เซลล์สมองลดลงมากยิ่งขึ้นไปอีกเพราะมีการถูกทำลาย

ภาวะของสมองเสื่อมมักพบในกลุ่มของผู้สูงอายุ โดยเฉลี่ยมักพบในกลุ่มอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ซึ่งวิธีสังเกตถึงสัญญาณเตือนว่าสมองของตัวคุณเองหรือของคนใกล้ตัวเริ่มเสื่อมแล้วหรือยัง มีดังนี้

1. หลงลืมข้อมูลที่มีความสำคัญ

ความจริงแล้วอาการหลง ๆ ลืม ๆ เป็นเรื่องปกติของคนที่มีวัยมากขึ้น เช่น ลืมว่าวางของไว้ที่ไหน แต่คนใกล้ชิดอาจต้องสังเกตว่าหากเป็นการลืมสิ่งที่สำคัญและพบเห็นอยู่ทุกวันในชีวิตนั้นถือว่าเป็นเรื่องไม่ปกติ เช่น ลืมคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดที่เห็นหน้ากันอยู่ทุกวัน หรือการลืมสิ่งที่เพิ่งทำไปในระยะเวลาอันสั้น เช่นเพิ่งทานข้าวเสร็จไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เมื่อมีใครมาถามว่ากินข้าวหรือยัง กลับบอกว่ายังไม่ได้กินหรือจำไม่ได้แล้ว ลักษณะหลงลืมเช่นนี้อาจวิเคราะห์ได้ว่าผู้นั้นเข้าข่ายของการมีความเสื่อมถอยทางสมองแล้วก็เป็นได้

2. หลงลืมทิศทาง

ข้อนี้เป็นพฤติกรรมที่เป็นอันตรายมากที่สุดอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุที่มีอาการของโรคสมองเสื่อม ผู้อ่านคงเคยชินกับข่าวประกาศหาผู้สูงอายุที่หายออกจากบ้านผ่านทางรายการวิทยุและสื่อต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ ซึ่งอาจเกิดจากผู้สูงอายุเดินทางออกจากบ้านแล้วหาทางกลับบ้านไม่ถูก จำทางกลับบ้านไม่ได้หรือจำไม่ได้แม้กระทั่งซอยหรือละแวกที่อยู่อาศัย ผู้เขียนเคยได้ยินเรื่องหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหลายสิบปีมาแล้วที่มีผู้สูงอายุหายออกจากบ้านไป โดยผู้สูงอายุท่านนี้เป็นผู้ที่มีความรู้สูงลูกหลานก็พยายามตามหาโดยประกาศออกทางหนังสือพิมพ์ที่มีรายละเอียดและรูปของผู้สูงอายุท่านนี้ ปรากฏว่าผู้สูงอายุท่านนี้เดินออกจากบ้านไปเรื่อยๆ เพราะจำบ้านของตนเองไม่ได้ รวมทั้งจำไม่ได้ด้วยว่าตนเองเป็นใคร ชื่ออะไร ในที่สุดหลงเดินเข้าไปในบ้านหลังหนึ่งและผู้สูงอายุท่านนี้ได้มาขออาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น ซึ่งเจ้าของบ้านเป็นคนมีจิตใจดีจึงได้ดูแลผู้สูงอายุท่านนี้ไว้ โดยผู้สูงอายุท่านนี้ได้คอยช่วยสอนการบ้านให้หลานเจ้าของบ้านอีกด้วย แต่ในที่สุดเรื่องนี้ได้จบลงแบบ Happy Ending เพราะเจ้าของบ้านได้อ่านพบข่าวในหนังสือพิมพ์และได้พาผู้สูงอายุท่านนี้ไปส่งที่บ้านในที่สุด

ดังนั้น หากเป็นไปได้จึงไม่ควรให้ผู้สูงอายุของเราเดินทางไปไหนมาไหนโดยลำพัง หากไม่สามารถจะไปกับท่านได้อาจต้องใช้วิธีจ้างรถรับจ้างที่พอจะรู้จักคุ้นเคยกัน หรือจ้างจากแหล่งที่น่าเชื่อถือที่จะติดตามตรวจสอบได้ให้พาท่านไปแทน และควรจะมีนามบัตรซึ่งมีที่อยู่ ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของคนดูแลติดไว้ในกระเป๋าของผู้สูงอายุของเราด้วยเพื่อจะสามารถติดต่อถึงกันได้

3. คิดคำพูดไม่ออก

สัญญาณหนึ่งของคนที่มีอาการสมองเสื่อมคือ การมีปัญหาในการใช้ภาษาโดยความสามารถในการใช้ภาษาลดลงอย่างเห็นได้ชัด อาจเริ่มจากการเรียกชื่อสิ่งของต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง เช่น เห็นพัดลม อาจจะเรียกชื่อไม่ถูก หรือเรียกแค่ พัด เฉย ๆ หรือถามว่าอาหารอร่อยไหม เปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไร ก็จะอธิบายถึงรสชาติอาหารไม่ได้

4. มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด

เช่น จากคนที่เคยเป็นคนสุภาพเรียบร้อยระมัดระวังตัว อาจจะกลายเป็นคนไม่สุภาพไม่ระมัดระวังตัวเหมือนเช่นเคย เช่น ไม่ยอมขับถ่ายในห้องน้ำ แต่จะปัสสาวะและอุจจาระเรี่ยราดไม่เป็นที่เป็นทาง ไม่ยอมสวมเสื้อผ้า หรือจากคนที่ช่างพูดกลายเป็นคนเงียบ ๆ มีอาการซึมเศร้า จากคนอารมณ์ดีกลายเป็นคนอารมณ์ร้ายหรือทำร้ายผู้อื่น หรือทำลายข้าวของ

5. ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำเป็นประจำได้เหมือนเดิม

เช่น เคยขับรถได้ แต่ตอนนี้ขับไม่ได้แล้วเพราะลืมไปแล้วว่าวิธีขับ ๆ อย่างไร เคยเปิดปิดโทรทัศน์ได้ เคยใช้โทรศัพท์ได้ แต่ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการสมองเสื่อมอาจไม่สามารถทำหรือคิดเรื่องที่ซับซ้อนเหมือนเดิมได้อีกต่อไป เช่น อ่านหนังสือไม่ออกหรือคิดเลขไม่ได้

6. มีอาการคลุ้มคลั่ง

ในกรณีของผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการใช้ยาเสพติดติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง เสียสติ ประสาทหลอน และมีผลโดยตรงต่อการทำให้เกิดสมองเสื่อม จดจำอะไรไม่ค่อยได้ อีกทั้งมีพฤติกรรมแปรปรวนถึงขั้นทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้

จริง ๆ แล้วอาการสมองเสื่อมเกิดขึ้นได้กับทุกคนเนื่องจากวัยที่มากขึ้น เพียงแต่จะมากหรือจะน้อยอยู่ที่ปัจจัยแวดล้อมต่างหาก หากคนที่ไม่ได้เป็นโรคประจำตัวใด ๆ เลยอาจมีความเสื่อมถอยของสมองน้อย เหมือนเช่นที่เราเห็นผู้สูงอายุวัย 90 กว่ายังมีความจำที่ดีอยู่ แต่หากท่านใดที่มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน ความเครียด อาจมีผลให้สมองเสื่อมถอยเร็วขึ้น

ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงทั้งกายและใจ ทำให้อารมณ์แจ่มใส ไม่เครียด แต่หากเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีโรคประจำตัวขึ้นมาก็ควรรีบรักษา เพราะอาจส่งผลต่อระบบการทำงานของสมองได้ และที่สำคัญคือหากเราต้องดูแลผู้ที่มีอาการสมองเสื่อมแล้ว เราต้องใจเย็นและมีความเห็นใจท่านเหล่านั้นให้มาก เพราะเขาจะดูแลตัวเองไม่ได้เหมือนเดิม เมื่อเรามีหน้าที่ดูแลท่านก็ดูแลให้ได้ดีที่สุดเหมือนกับตอนที่ท่านยังหนุ่มสาวท่านก็เลี้ยงดูเราอย่างดีเสมอมา

http://www.com5dow.com/บทความที่น่าสนใจ/2456-6-สัญญาณเตือนว่าสมองของเราเริ่มเสื่อมแล้ว.html
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


Web Master : ครูนงลักษณ์

นงลักษณ์ ชูทัน
  น.ส.นงลักษณ์ ชูทัน

สารพัดลิงค์







เรื่องน่ารู้



ผู้ที่เป็นครูจะต้องถือเป็นหน้าที่อันดับแรก ที่จะต้อง ให้การศึกษา คือ สั่งสอนอบรมอนุชนให้ได้ผลแท้จริง ทั้งในด้านวิชาความรู้ ทั้งในด้านจิตใจ และความประพฤติ ทั้งต้องคิดว่างานที่แต่ละคนกำลังทำอยู่นี้คือความเป็นความตายของประเทศ เพราะอนุชนที่มีความรู้ความดีเท่านั้นที่จะรักษาชาติบ้านเมืองไว้ได้…
(พระราชดำรัส : ๒๕๑๕)