เมนู
บทความ
บทความวิชาการ
>> อาเซียน
>> พรบ.การศึกษา
>> การจัดการเรียนรู้
>> คุณลักษณะนิสัย
>> วัดผลประเมินผล
>> ระบบดูแลนักเรียน
>> วิจัยในชั้นเรียน
>> หลักสูตร 2551
บทความวิทยาศาสตร์
>> รวมคำขวัญวันวิทยาศาตร์
>> เกิดอะไรขึ้นในสมอง
>> science-news
>> สีสันวิทยาศาสตร์
>> วิทยาศาสตร์น่ารู้
>> วิทย์ระดับประถม
>> คลังความรู้วิทยาศาสตร์
>> 10 กลวิทยาศาสตร์สนุก
>> เด็กวิทย์สนุกคิด
>> เทคโนโลยีและชีวภาพ
>> วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์
>> นิทานวิทยาศาสตร์
>> เกร็ดวิทย์ชวนรู้
>> บทความวิทยาศาสตร์
>> ข่าววิทยาศาสตร์
>> การทดลองวิทยาศาสตร์
บทความน่าสนใจ
>> เอลนีโญและลานีญา
>> พืชสมุนไพร
>> เตรียมตัวสู้น้ำท่วม
>> สื่ออีเลิร์นนิ่ง
>> สื่อ Teblet
>> สึนามิ
>> ข้อคิด คติเตือนใจ
>> ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์
>> พืชดูดสารพิษ
บทความสุขภาพ
>> ผักบุ้งนา ประหยัดสุด
>> อาบน้ำลดน้ำหนัก
>> ช่วยตับขับพิษ
>> การแกว่งแขนบำบัด
>> ครีมเทียม ยิ่งมากยิ่งเสี่ยง
>> ของเสียในร่างกาย
>>12 วิธีการลดคลอเลสเตอรอล
>> 15 วิธีลดไขมัน
>> สมุนไพรลดไขมัน
>> บ้านสุขภาพ
>> อาหารกลางวัน
>> คำนวณภาวะโภชนาการ
>> โภชนาการน่ารู้
>> ธงโภชนาการ
>> 10 อย่างที่ควรรับประทาน
>> อาหารสุขภาพ
>> อาหารและสุขภาพ
>> สาระน่ารู้ต่างๆ นาๆ
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ17/04/2012
อัพเดท31/12/2015
ผู้เข้าชม403995
แสดงหน้า524364


สช.เตือน ร.ร.ในสังกัด หลังพบอาหาร-สินค้าอันตรายระบาด

อ่าน 183 | ตอบ 0

สช. ทำหนังสือถึง ร.ร.เอกชนในสังกัดเรื่องที่มีผู้ขายของอันตรายบริเวณสถานศึกษา เน้นให้ตรวจสอบหลังพบสินค้าอาหารและสินค้าอันตรายขายหน้าโรงเรียนจำนวนมาก 

นายบัณฑิต ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ทำหนังสือถึงผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนให้กวดขันการจำหน่ายสินค้าอันตรายบริเวณหน้าโรงเรียน หลังจากที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พบว่ามีการขายสินค้าบริเวณหน้าโรงเรียน ซึ่งเป็นสินค้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีคำสั่งห้ามขายได้เริ่มกลับมา ระบาดอีก เช่น ของเล่นชนิดพองตัวเมื่อแช่น้ำ หรือ ตัวดูดน้ำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต หากเด็กกินหรือกลืนเข้าไป ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ออกกฎหมายห้ามไม่ให้ขายของเล่นชนิดนี้แล้วตั้งแต่ปี 2527 แต่ยังมีผู้ลักลอบเข้ามาขายอยู่

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีลูกโป่งวิทยาศาสตร์ หรือ ลูกโป่งพลาสติก อุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสำหรับแกล้งคน และสินค้าที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก เช่น ของเล่นที่ไม่ได้มาตรฐานตามที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมกำหนด ไม่มีฉลากคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งอาหารทอดที่ใช้น้ำมันซ้ำ ลูกชิ้น ไส้กรอก และขนมที่มีสีสันสวยงาม ซึ่งอาจใส่สีสังเคราะห์ที่ไม่เหมาะสม

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กล่าวต่อว่า สช.พิจารณาแล้วเห็นว่า ควรป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนได้รับอันตรายจากของเล่นที่ไม่ได้มาตรฐานเหล่านี้ และการบริโภคอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ หรือขนม จึงขอความร่วมมือผู้บริหาร อาจารย์ร.ร.เอกชนช่วยรณรงค์ดูแลการขายสินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กบริเวณรอบร.ร. เชื่อว่าหากให้ร.ร.เข้ามาร่วมดูแลแจ้งเบาะแส จะเป็นช่องทางช่วยควบคุมไม่ให้ของเล่นอันตรายแพร่ระบาดได้

 ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
          
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/35480

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


Web Master : ครูนงลักษณ์

นงลักษณ์ ชูทัน
  น.ส.นงลักษณ์ ชูทัน

สารพัดลิงค์







เรื่องน่ารู้



ผู้ที่เป็นครูจะต้องถือเป็นหน้าที่อันดับแรก ที่จะต้อง ให้การศึกษา คือ สั่งสอนอบรมอนุชนให้ได้ผลแท้จริง ทั้งในด้านวิชาความรู้ ทั้งในด้านจิตใจ และความประพฤติ ทั้งต้องคิดว่างานที่แต่ละคนกำลังทำอยู่นี้คือความเป็นความตายของประเทศ เพราะอนุชนที่มีความรู้ความดีเท่านั้นที่จะรักษาชาติบ้านเมืองไว้ได้…
(พระราชดำรัส : ๒๕๑๕)