เมนู
บทความ
บทความวิชาการ
>> อาเซียน
>> พรบ.การศึกษา
>> การจัดการเรียนรู้
>> คุณลักษณะนิสัย
>> วัดผลประเมินผล
>> ระบบดูแลนักเรียน
>> วิจัยในชั้นเรียน
>> หลักสูตร 2551
บทความวิทยาศาสตร์
>> รวมคำขวัญวันวิทยาศาตร์
>> เกิดอะไรขึ้นในสมอง
>> science-news
>> สีสันวิทยาศาสตร์
>> วิทยาศาสตร์น่ารู้
>> วิทย์ระดับประถม
>> คลังความรู้วิทยาศาสตร์
>> 10 กลวิทยาศาสตร์สนุก
>> เด็กวิทย์สนุกคิด
>> เทคโนโลยีและชีวภาพ
>> วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์
>> นิทานวิทยาศาสตร์
>> เกร็ดวิทย์ชวนรู้
>> บทความวิทยาศาสตร์
>> ข่าววิทยาศาสตร์
>> การทดลองวิทยาศาสตร์
บทความน่าสนใจ
>> เอลนีโญและลานีญา
>> พืชสมุนไพร
>> เตรียมตัวสู้น้ำท่วม
>> สื่ออีเลิร์นนิ่ง
>> สื่อ Teblet
>> สึนามิ
>> ข้อคิด คติเตือนใจ
>> ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์
>> พืชดูดสารพิษ
บทความสุขภาพ
>> ผักบุ้งนา ประหยัดสุด
>> อาบน้ำลดน้ำหนัก
>> ช่วยตับขับพิษ
>> การแกว่งแขนบำบัด
>> ครีมเทียม ยิ่งมากยิ่งเสี่ยง
>> ของเสียในร่างกาย
>>12 วิธีการลดคลอเลสเตอรอล
>> 15 วิธีลดไขมัน
>> สมุนไพรลดไขมัน
>> บ้านสุขภาพ
>> อาหารกลางวัน
>> คำนวณภาวะโภชนาการ
>> โภชนาการน่ารู้
>> ธงโภชนาการ
>> 10 อย่างที่ควรรับประทาน
>> อาหารสุขภาพ
>> อาหารและสุขภาพ
>> สาระน่ารู้ต่างๆ นาๆ
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ17/04/2012
อัพเดท31/12/2015
ผู้เข้าชม403944
แสดงหน้า524311


ใบเตย ...มีดีที่ไม่ใช่แค่กลิ่นหอม

อ่าน 299 | ตอบ 0
'กลิ่นใบเตย หอมชื่นใจ' ...ก็แหมเวลาเราได้กลิ่นหอม ๆ ของใบเตย หรือ 'เตยหอม' ผสมอยู่ในขนมไทยทีไร ก็ชวนให้เราอยากคว้าขนมไทยชิ้นนั้นขึ้นมาหม่ำไปซะที (ปกติก็ชอบหม่ำอยู่แล้ว อิอิ)

สำหรับ 'เตยหอม' นั้น ทุกคนน่าจะรู้จักกันดีใช่ไหม
... โดยเฉพาะ 'ใบเตย' ที่มักถูกนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน แถมยังช่วยแต่งสีเขียวให้กับขนมไทยด้วย ซึ่งคนทั่วไปอาจจะรู้ว่าประโยชน์ของ 'เตยหอม' มีเพียงเท่านี้ แต่จริง ๆ แล้ว นอกจาก 'เตยหอม' จะมีดีที่ความหอมแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพแฝงอยู่ด้วยนะ

โดย 'ใบเตยหอม' 100 กรัม จะให้พลังงานถึง 35 กิโลแคลอรี และยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

น้ำ 85.3 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 4.6 กรัม
โปรตีน 1.9 กรัม
ไขมัน 0.8 กรัม
กาก 5.2 กรัม
แคลเซียม 124 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม
เบต้า-แคโรทีน 2.987 ไมโครกรัม
วิตามินบี 2 0.20 มิลลิกรัม
ไนอะซีน 1.2 มิลลิกรัม
วิตามินซี 8 มิลลิกรัม

มาที่สรรพคุณสุดแสนจะน่าอัศจรรย์ของเตยหอมกันบ้าง นอกจากจะนำ 'ใบ' มาใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแล้ว ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ยังพบว่า 'เตยหอม' มีฤทธิ์ทางยาด้วย ดังนี้

ใบ

ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เพราะใบเตยมีฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจ จึงช่วยบำรุงหัวใจได้อย่างดี วิธีรับประทานคือ ใช้ใบสดผสมในอาหาร แล้วรับประทาน หรือนำใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง

ช่วยดับกระหาย เนื่องจากใบเตยมีกลิ่นหอมเย็น หากนำมาผสมน้ำรับประทาน จะช่วยดับกระหาย คลายร้อน ทานแล้วรู้สึกชื่นใจ และชุ่มคอได้เป็นอย่างดี วิธีรับประทานคือ นำใบเตยสดมาล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด แล้วเติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำดื่ม

รักษาโรคหัด หรือ โรคผิวหนัง โดยนำใบเตยมาตำแล้วมาพอกบนผิว

รากและลำต้น

ใช้รักษาโรคเบาหวาน เพราะรากและลำต้นของเตยหอมนั้น มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด วิธีรับประทานก็คือ ใช้ราก 1 กำมือนำไปต้มเป็นน้ำดื่ม ทุกเช้า-เย็น

ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยการนำต้นเตยหอม 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ไปต้มกับน้ำดื่ม

นอกจากนี้ เตยหอม ยังช่วยแก้อ่อนเพลีย ดับพิษไข้ และชูกำลังได้อีกด้วย เห็นสรรพคุณมากมายขนาดนี้แล้ว ต้องบอกว่าไม่ธรรมดาจริง ๆ สำหรับเจ้าพืชสีเขียวใบเรียวชนิดนี้

http://www.healthupdatetoday.com/product/detail-40994.html
See More
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


Web Master : ครูนงลักษณ์

นงลักษณ์ ชูทัน
  น.ส.นงลักษณ์ ชูทัน

สารพัดลิงค์







เรื่องน่ารู้



ผู้ที่เป็นครูจะต้องถือเป็นหน้าที่อันดับแรก ที่จะต้อง ให้การศึกษา คือ สั่งสอนอบรมอนุชนให้ได้ผลแท้จริง ทั้งในด้านวิชาความรู้ ทั้งในด้านจิตใจ และความประพฤติ ทั้งต้องคิดว่างานที่แต่ละคนกำลังทำอยู่นี้คือความเป็นความตายของประเทศ เพราะอนุชนที่มีความรู้ความดีเท่านั้นที่จะรักษาชาติบ้านเมืองไว้ได้…
(พระราชดำรัส : ๒๕๑๕)