สำนักข่าวเดลีเมล์ ตีพิมพ์เรื่อง 'สารพัดยอยุงแสนยุ่ง', และ อ.อนาฮัด โอ'คอนเนอร์ ตีพิมพ์เรื่อง 'จริงไหม: ยุงชอบกัดผู้หญิง' ในนิวยอร์ค ไทมส์ ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับโลกเบี้ยวใบนี้มียุงมากกว่า 3,500 สายพันธุ์ (สปีชีส์ / species) ยอยุงแสนยุ่งเหล่านี้เป็นนักมังสวิรัติ (vegetarians), กินน้ำหวานจากดอกไม้ (nectar) เกือบตลอดชีวิต จะ 'ไม่มังฯ (มังสวิรัติ)' เฉพาะยุงตัวเมีย ตอนจะสร้างและวางไข่ เพื่อให้ได้สารอาหารเพิ่มขึ้น การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ยุงชอบ 'เป้า (target)' ใหญ่มากกว่าเล็ก
ชอบกัดคนตัวโตมากกว่าคนตัวเล็ก ชอบคนอ้วนมากกว่าคนผอม (คนอ้วนมีพื้นที่ผิวหนังมากขึ้น)
ยุงชอบคนท้องมากกว่าคนไม่ท้อง คนตั้งครรภ์มีพื้นที่ผิวหนังมากขึ้นเช่นกัน ยุงมีแนวโน้มจะเลือกกัดคนบางคนมากเป็นพิเศษ ซึ่งยังไม่ทราบแน่ว่า ทำไม
การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ปัจจัยต่อไปนี้ดึงดูดยุงมากเป็นพิเศษ
(1). คาร์บอนไดออกไซด์
พบในลมหายใจออก ยุงมีอวัยวะตรวจจับแก๊สนี้อยู่ที่ขากรรไกรบน
ตรวจจับได้ในระยะ 160 ฟุต = 48.77 เมตร = เกือบ 50 เมตร คนตัวโต หรือตัวหนัก ปล่อยแก๊สนี้มากกว่าคนตัวเล็ก หรือตัวเบา... แบบนี้ยุงชอบ คนที่มีอัตราการเผาผลาญกำลังงานสูง เช่น ทำงานหนัก ออกกำลังหนัก เป็นไข้ ฯลฯ... ปล่อยแก๊สนี้มากเช่นกัน ถ้ามีลมพัดแรง หรือการระบายอากาศดีมาก เช่น ติดพัดลมดูดอากาศ ฯลฯ จะทำให้แก๊สนี้พัดออกไปจากตัวได้เร็วคนจึงถูกยุงกัดได้ง่ายขึ้นในที่อับลม
(2). กลิ่นตัว-กลิ่นเหงื่อ
คนเรามีสารเคมีที่ระเหยออกจากผิวหนังประมาณ 500 ชนิด ทำให้มีกลิ่นตัวไม่เหมือนกัน
ยุงชอบกลิ่นตัวของคนบางคน และเลือกที่จะกัดคนบางคนก่อนคนอื่นยุงมีตัวรับกลิ่นรูปร่างคล้ายเสาอากาศ TV ที่หัว ตัวอย่างกลิ่นที่ยุง-แมลงอีกหลายชนิดรับกลิ่นได้ คือ เหงื่อ กรดแลคติค กรดยูริค ออคเทนอว (octenol)
(3). อุณหภูมิ-ความร้อน
ยุงชอบคนตัวร้อน ตัวอุ่นมากเป็นพิเศษ คนที่ทำงานหนัก หรือออกกำลังตอนค่ำ จะเสี่ยงยุงมากขึ้น
และเสี่ยงมากกว่านั้น... ถ้านุ่งผ้าถุงหรือโสร่ง (ยอยุง... ชอบมุดถ้ำ)
(4). ตั้งครรภ์-มีท้อง
คนที่ตั้งครรภ์มักจะมีพื้นที่ผิวหนังมากขึ้น (ท้องใหญ่ขึ้น), ตัวอุ่นหรือร้อนขึ้น (อุณหภูมิสูงขึ้น), เหงื่อออกง่ายขึ้นการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนท้องตัวอุ่น หรือร้อนมากขึ้น 1.3 องศาฟาเรนไฮต์ = 0.72 องศาเซลเซียส (C) เพิ่มเสี่ยงถูกยุงกัด = 2 เท่าของคนไม่ท้อง การลงทุนที่น่าจะสุดคุ้มสำหรับ 'ว่าที่คุณแม่' คือ การติดมุ้งลวดทั้งห้อง หรือทั้งบ้าน
(5). แอลกอฮอล์
ปี 2002/2545 มีการศึกษาจากญี่ปุ่น ทำในอาสาสมัคร 13 คน ให้ดื่มเบียร์ 1 ขวด พบว่า การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มเสี่ยงยุงกัด กลไกที่เป็นไปได้ คือ แอลกอฮอล์ทำให้อุณหภูมิที่ผิวหนังเพิ่มขึ้น และกลิ่นตัวแรงขึ้น การศึกษาจากฝรั่งเศสในปี 2554 ทำในกลุ่มตัวอย่าง 15 คนพบว่า เบียร์เพิ่มเสี่ยงยุงกัดเช่นกัน
(6). คนโสโครก
การศึกษาจากเนเธอร์แลนด์ ทำในปี 2011/2554 พบว่า ยุงอาฟริกันชอบคนที่มีจำนวนแบคทีเรียผิวหนังสูง การไม่ล้างมือด้วยสบู่ หรือไม่อาบน้ำ เพิ่มแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคที่ผิวหนัง การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ยุงเขตร้อนที่เป็นพาหะเชื้อมาลาเรีย (ไข้จับสั่น) ชอบคนที่มี 'กลิ่นเท้า' แรง ตรงนี้เป็นช่องทางของการวิจัยด้วย คือ ต่อไปอาจมีการวิจัยหาเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อท้องถิ่นชนิดดีที่ยุงไม่ชอบ อาจทำเป็นสเปรย์ ไว้พ่นบนผิวหนัง เพื่อลดปริมาณเชื้อร้ายๆ ให้น้อยลง
(7). กลิ่นไล่ยุง
นักวิทยาศาสตร์พบว่า คนบนโลก 1/10 = 10 คนมีแบบนี้ 1 คน ปล่อยกลิ่นไล่ยุงได้ (แต่กันยุงไม่ได้ 100%) ตัวอย่างกลิ่นไล่ยุง เช่น กลิ่นคีโตน (ketones) = กลิ่นคล้ายผลไม้สุกงอมมาก ใกล้จะเน่าเสีย (sicky sweet fruit) ฯลฯ คนบางคนมีสารนี้ในกลิ่นตัวมากกว่าคนทั่วไป คนไข้เบาหวานที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนช็อคมีสารนี้เพิ่มขึ้น คนที่ลดความอ้วน โดยกิน 'ข้าว-แป้ง-น้ำตาล' ต่ำมากๆ มีสารนี้เพิ่มขึ้น แต่อย่าลองของกับยุง เพราะช่วงลดความอ้วนแบบเร็ว อาจมีภูมิต้านทานโรคต่ำลงได้ง่าย วิธีที่ดีกว่า คือ ออกกำลัง คุมอาหาร และติดมุ้งลวดหรือกางมุ้ง นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า
กลิ่นคีโตนคล้ายกลิ่นผลไม้สุกงอมอาจทำให้ยุงสับสนเลยไม่ค่อยอยากกัด เช่น งงว่า เอ! นี่มันคนหรือต้นไม้ (ต้นไม้ที่มีผลไม้สุก)
(8). ยุงกัดเจ็บไม่เท่ากัน คนบางคนแพ้ยุง โดนหน่อยก็คัน
(9). กลุ่มเลือด - กรุ๊ปเลือด (blood groups)
การศึกษาจากญี่ปุ่น ทำในปี 2004/2547 พบว่ายุงมีแนวโน้มจะกัดคนที่มีเลือดกรุ๊ปโอ (O) = 2 เท่าของกรุ๊ปเอ (A) ส่วนกรุ๊ปบี (B) จะอยู่กลางๆ คือ ยุงชอบคนเลือดกรุ๊ป O มากกว่า B, ชอบกรุ๊ป B มากกว่า A คนไทยมีเลือดกรุ๊ปโอ (O) มากที่สุด รองลงไปเป็นบี (B), เอ (A) และเอบี (AB) ตามลำดับ ทางที่ดี คือ ไม่ต้องไปลองของ ป้องกันยุง โดยติดมุ้งลวด กางมุ้ง แล้วเก็บเลือดไว้บริจาคเอาบุญ
(10). สีเสื้อ
การศึกษาจากมหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐฯ พบว่า ยุงแต่ละสายพันธุ์ชอบเสื้อผ้าสีไม่เหมือนกัน
ทว่า... ส่วนใหญ่จะชอบคนสวมเสื้อผ้าสีเข้มมากกว่าสีอ่อน ที่ยังไม่ได้ศึกษา คือ ยุงชอบคน (ใส่) เสื้อผ้าสีอะไรมากกว่ากัน หลักการทางฟิสิกส์ทางแสง แบ่งสีเป็นกลุ่มๆ ชื่อที่ช่างอีเล็ค (โทรนิคส์) หรือช่าง TV คงจะรู้กันดี คือ RGB = แดง_เขียว_ฟ้า
ภาพที่ 1: แม่สีแสง (primary light color) จากวิกิพีเดีย แม่สีแสงมี 3 สี (RBG) > ถ้าฉายสี 3 สีนี้มารวมกันจะได้สีขาว (white)
•R = red = สีแดง
•B = blue = สีฟ้า
•G = green = สีเขียว
ภาพที่ 2: แม่สีแสง (primary light color), ภาพจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียสเตท แม่สีแสงมี 3 สี (RBG)
•ถ้าฉายสี 3 สีนี้มารวมกัน (R + B + G) จะได้สีขาว (white)
•ถ้าไม่มีแสงสีเลยแม้แต่สีเดียว จะเห็นเป็นสีดำ (black)
.ถ้าฉายแสงสี 2 สีรวมกันจะได้สีผสมดังนี้
•R (red /สีแดง) + B (blue/สีฟ้า) = magenta / สีม่วงแดง
•B (blue/สีฟ้า) + G (green/สีเขียว) = cyan / สีฟ้าเขียว
•G (green/สีเขียว) + R (red /สีแดง) = yellow / สีเหลือง
ถ้าเป็นแมลงอื่น เช่น ผึ้ง ต่อ แตน ฯลฯ มักจะชอบสีค่อนไปทาง 'ฟ้า-น้ำเงิน' กลไกที่เป็นไปได้ คือ แมลงมองเห็นสีฟ้า สีน้ำเงิน ไปจนถึงอัลตราไวโอเลต (ultraviolet / UV) ได้ดีกว่าคน
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ถ้าเป็นพื้นที่เสี่ยงแมลงกัดต่อย คือ ผึ้ง ต่อ แตน ฯลฯ ให้หลีกเลี่ยงการปลูกดอกไม้สีฟ้า-น้ำเงินให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการปลูกดอกไม้สีเขียว-แดง รองลงไป หรือถ้าต้องการให้แมลงมารบกวนน้อยหน่อยตอนกลางคืน ให้เลือกใช้ไฟสีไปทางเหลือง เพราะจะดึงดูดแมลงน้อยกว่า
ยอยุงแสนยุ่งไม่เป็นอย่างนั้น สีอะไรก็กัดได้หมด ทางที่ดี คือ ติดมุ้งลวด + กางมุ้งไว้และอย่าลืม... ติดมุ้งลวดห้องน้ำด้วย เพราะยุงชอบกัดเนื้อเยื่ออ่อนในร่มผ้ามากเป็นพิเศษ และอย่าลืม... ล้างมือ + ล้างเท้า + อาบน้ำตามโอกาส
http://www.oknation.net/
เพราะยุงมีแนวโน้มจะชอบกัด 'คนกลิ่นแรง' ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
— with ทศวัชร เกษรมาศมณี.