เมนู
บทความ
บทความวิชาการ
>> อาเซียน
>> พรบ.การศึกษา
>> การจัดการเรียนรู้
>> คุณลักษณะนิสัย
>> วัดผลประเมินผล
>> ระบบดูแลนักเรียน
>> วิจัยในชั้นเรียน
>> หลักสูตร 2551
บทความวิทยาศาสตร์
>> รวมคำขวัญวันวิทยาศาตร์
>> เกิดอะไรขึ้นในสมอง
>> science-news
>> สีสันวิทยาศาสตร์
>> วิทยาศาสตร์น่ารู้
>> วิทย์ระดับประถม
>> คลังความรู้วิทยาศาสตร์
>> 10 กลวิทยาศาสตร์สนุก
>> เด็กวิทย์สนุกคิด
>> เทคโนโลยีและชีวภาพ
>> วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์
>> นิทานวิทยาศาสตร์
>> เกร็ดวิทย์ชวนรู้
>> บทความวิทยาศาสตร์
>> ข่าววิทยาศาสตร์
>> การทดลองวิทยาศาสตร์
บทความน่าสนใจ
>> เอลนีโญและลานีญา
>> พืชสมุนไพร
>> เตรียมตัวสู้น้ำท่วม
>> สื่ออีเลิร์นนิ่ง
>> สื่อ Teblet
>> สึนามิ
>> ข้อคิด คติเตือนใจ
>> ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์
>> พืชดูดสารพิษ
บทความสุขภาพ
>> ผักบุ้งนา ประหยัดสุด
>> อาบน้ำลดน้ำหนัก
>> ช่วยตับขับพิษ
>> การแกว่งแขนบำบัด
>> ครีมเทียม ยิ่งมากยิ่งเสี่ยง
>> ของเสียในร่างกาย
>>12 วิธีการลดคลอเลสเตอรอล
>> 15 วิธีลดไขมัน
>> สมุนไพรลดไขมัน
>> บ้านสุขภาพ
>> อาหารกลางวัน
>> คำนวณภาวะโภชนาการ
>> โภชนาการน่ารู้
>> ธงโภชนาการ
>> 10 อย่างที่ควรรับประทาน
>> อาหารสุขภาพ
>> อาหารและสุขภาพ
>> สาระน่ารู้ต่างๆ นาๆ
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ17/04/2012
อัพเดท31/12/2015
ผู้เข้าชม403876
แสดงหน้า524241


ทำไมเราควรดูแลเท้าให้ดี?

อ่าน 575 | ตอบ 0
ทุกวันนี้คนไทยมีสถิติเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้นทุกปี สืบเนื่องจากการบริโภคอาหารไขมันสูง อาหารรสเค็มจัดที่ส่งผลให้ไตทำงานหนัก อาหารพวกชีสและมันเนย อาหารจานด่วนหรืออาหารจานเดียว เช่น ผัดกะเพราไข่ดาว ผัดซีอิ๊ว ข้าวมันไก่ รวมถึงของหวานประเภท...ต่างๆ ทั้งขนมไทยและขนมฝรั่ง อาหารเหล่านี้มักส่งผลต่อระดับไขมันในเลือด (คอเลสเตอรอล) ให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากความเครียดที่มีผลต่อฮอร์โมนในต่อมหมวกไต ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงเช่นกัน

ความดันโลหิตสูงมีอันตรายเกิดกับร่างกายอย่างไร น่ากลัวที่สุดคืออันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ มีผลให้หัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจอาจตายได้ ดังนั้นหากเรารู้จักป้องกันแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนนิสัยการบริโภค หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารหวาน อาหารเค็ม ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอและหลีกเลี่ยงความเครียด จะช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงได้

แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะให้ยาขับปัสสาวะและยาลดความดันในเวลาเดียวกัน รวมถึงคำแนะนำในการงดอาหารหวาน มัน เค็ม การทำตัวไม่ให้เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากพบว่าผู้ป่วยยังคุมระดับความดันไม่ได้ จึงจะหาวิธีอื่นๆ มาช่วยเหลือผู้ป่วย ตามแนวคิดที่ว่า “ไม่มีศาสตร์การแพทย์แผนใดแผนหนึ่งแผนเดียวที่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ครบถ้วนร้อยเปอร์เซ็นต์” ทุกศาสตร์การแพทย์ยังมีช่องว่าง (Gap of Knowledge)

เพื่อเติมเต็มช่องว่างทางการแพทย์จึงเป็นที่มาของการแพทย์แบบผสมผสาน (Complementary Medicine) ให้การดูแลสมบูรณ์แบบและมีความเป็นองค์รวมมากขึ้น เช่นการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ซึ่งเป็นการนำการแพทย์แผนตะวันออกมาผสมผสานในการดูแลผู้ป่วยเพื่อบำบัดโรคความดันโลหิตสูง

การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าเป็นการกดจุดบนฝ่าเท้าที่เป็นตัวแทนอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพื่อส่งผ่านพลังตามเส้นแนวโคจรพลัง (Meridian line) ช่วยให้พลังเดินสะดวก ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนมองว่าร่างกายของมนุษย์ หากพลังงานไหลเวียนดีโดยไม่ติดขัด ถือว่ามีสุขภาพดี แต่หากมีการติดขัดที่ใดจะถือว่ามีปัญหาสุขภาพ

ทั้งนี้ ทั้งนั้น เราสามารถตรวจสอบการติดขัดของเส้นโคจรพลังได้ระหว่างการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า โดยหากพบ “เม็ดทราย” (Microcrystal หรือ Crystalline deposit) หรือตัวบ่งบอกว่าพลังเกิดความติดขัดในร่างกาย ผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดจะต้องกดให้เม็ดทรายนั้นแตกออก พลังจะได้เดินสะดวกและผู้ป่วยจะมีสุขภาพดีขึ้น

ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องกด 62 จุดภายใต้ฝ่าเท้าเพื่อให้พลังไหลเวียนต่อเนื่องทุกอวัยวะ จากนั้นมาเน้น อีก 26 จุดที่เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย และสุดท้ายคือการเน้นจุดที่เป็นตัวแทนในการลดความดันโลหิต ซึ่งประกอบด้วย จุดศูนย์รวมประสาท หัวใจ ต่อมใต้สมอง ต่อมพิตูอิตารี จุดตรงฐานหัวแม่เท้า กระดูกสันหลัง กระบังลม ปอด ต่อมหมวกไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ ดังรูป คือ 11 จุดในการลดความดันโลหิตสูง

ขอบคุณข้อมูลจาก ศุกร์สุขภาพ โดย ผศ.ดร.ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


Web Master : ครูนงลักษณ์

นงลักษณ์ ชูทัน
  น.ส.นงลักษณ์ ชูทัน

สารพัดลิงค์







เรื่องน่ารู้



ผู้ที่เป็นครูจะต้องถือเป็นหน้าที่อันดับแรก ที่จะต้อง ให้การศึกษา คือ สั่งสอนอบรมอนุชนให้ได้ผลแท้จริง ทั้งในด้านวิชาความรู้ ทั้งในด้านจิตใจ และความประพฤติ ทั้งต้องคิดว่างานที่แต่ละคนกำลังทำอยู่นี้คือความเป็นความตายของประเทศ เพราะอนุชนที่มีความรู้ความดีเท่านั้นที่จะรักษาชาติบ้านเมืองไว้ได้…
(พระราชดำรัส : ๒๕๑๕)