เมนู
บทความ
บทความวิชาการ
>> อาเซียน
>> พรบ.การศึกษา
>> การจัดการเรียนรู้
>> คุณลักษณะนิสัย
>> วัดผลประเมินผล
>> ระบบดูแลนักเรียน
>> วิจัยในชั้นเรียน
>> หลักสูตร 2551
บทความวิทยาศาสตร์
>> รวมคำขวัญวันวิทยาศาตร์
>> เกิดอะไรขึ้นในสมอง
>> science-news
>> สีสันวิทยาศาสตร์
>> วิทยาศาสตร์น่ารู้
>> วิทย์ระดับประถม
>> คลังความรู้วิทยาศาสตร์
>> 10 กลวิทยาศาสตร์สนุก
>> เด็กวิทย์สนุกคิด
>> เทคโนโลยีและชีวภาพ
>> วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์
>> นิทานวิทยาศาสตร์
>> เกร็ดวิทย์ชวนรู้
>> บทความวิทยาศาสตร์
>> ข่าววิทยาศาสตร์
>> การทดลองวิทยาศาสตร์
บทความน่าสนใจ
>> เอลนีโญและลานีญา
>> พืชสมุนไพร
>> เตรียมตัวสู้น้ำท่วม
>> สื่ออีเลิร์นนิ่ง
>> สื่อ Teblet
>> สึนามิ
>> ข้อคิด คติเตือนใจ
>> ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์
>> พืชดูดสารพิษ
บทความสุขภาพ
>> ผักบุ้งนา ประหยัดสุด
>> อาบน้ำลดน้ำหนัก
>> ช่วยตับขับพิษ
>> การแกว่งแขนบำบัด
>> ครีมเทียม ยิ่งมากยิ่งเสี่ยง
>> ของเสียในร่างกาย
>>12 วิธีการลดคลอเลสเตอรอล
>> 15 วิธีลดไขมัน
>> สมุนไพรลดไขมัน
>> บ้านสุขภาพ
>> อาหารกลางวัน
>> คำนวณภาวะโภชนาการ
>> โภชนาการน่ารู้
>> ธงโภชนาการ
>> 10 อย่างที่ควรรับประทาน
>> อาหารสุขภาพ
>> อาหารและสุขภาพ
>> สาระน่ารู้ต่างๆ นาๆ
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
สถิติ
เปิดเมื่อ17/04/2012
อัพเดท31/12/2015
ผู้เข้าชม403858
แสดงหน้า524223


แตงโมไทย

อ่าน 361 | ตอบ 0
ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตว่าแตงโมที่มีสีแดงเข้มและหวานจัดอาจจะมีการฉีดสีหรือสารให้ความหวานนั้น แม้จะมีคนโพสต์ต่อว่าเป็นข้อมูลมั่ว แต่หลายคนก็ยังมีข้อกังขาอยู่
 
          เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า ช่วงหน้าร้อนคนกินแตงโมเยอะ กินไปกินมาก็มีข้อสงสัยว่า ทำไมหวานดี หวานจัด สีแดงมาก และมีข้อสงสัยอยู่เรื่อย ๆ ว่าใส่สีหรือเปล่า เพิ่มสารให้ความหวานเข้าไปหรือเปล่า เพราะเกรงว่าจะเกิดอันตราย
 
          เรื่องนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เคยทำการศึกษามาแล้ว เพียงแต่ไม่ได้ทำตลอดเวลา ซึ่งผลการศึกษาก่อนหน้านั้น ได้ทำการตรวจวิเคราะห์สีสังเคราะห์ในแตงโมที่เก็บตัวอย่างมาจากหลายจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีส้ม สีชมพู ก็ไม่พบสีสังเคราะห์แต่อย่างใด
 
          ส่วนความหวานที่สงสัยว่าใส่วัตถุหรือสารให้ความหวานลงไปหรือเปล่า ผลการตรวจวิเคราะห์ก็ไม่พบสารให้ความหวาน ไม่ว่าจะเป็น ซัคคาริน, อะซีซัลเฟม เค, แอสปาแตม และไซคลาเมต อย่างไรก็ตามได้ทำการตรวจวิเคราะห์สารต้องสงสัยทุกชนิดปรากฏว่าไม่พบเช่นเดียวกัน
 
          จากผลการตรวจวิเคราะห์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันว่า แตงโมไทยไม่มีการใช้สีสังเคราะห์เพื่อให้สีสดสวย และไม่มีการใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย เพื่อเพิ่มความหวานแต่อย่างใด
 
          นักวิทยาศาสตร์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้ความเห็นว่า ผลไม้จะมีลักษณะป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ ถ้าเกิดมีใครแผลงฉีดสารอะไรเข้าไปในแตงโมจะทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างรวดเร็ว และทำให้แตงโมเน่าและเสียง่าย ดังนั้นจึงไม่คุ้มค่าที่จะทำเช่นนั้น
 
          ความหวานและสีของแตงโมไทยเป็นคุณสมบัติเด่นของผลไม้โดยแท้ ระหว่างการเพาะปลูก เกษตรกรจะใช้เทคนิค เช่น ลดการให้น้ำ ให้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ก่อนเก็บเกี่ยว ทำให้แตงโมมีรสหวานและสีสดสวยตามธรรมชาติ โดยเฉพาะหน้าร้อนแตงโมจะมีสีเข้มมาก
 
          นอกจากการตรวจวิเคราะห์หาสีสังเคราะห์ และสารให้ความหวานซึ่งไม่พบแล้ว กรมวิทยา ศาสตร์การแพทย์ยังได้ตรวจวิเคราะห์ปริมาณการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามผิวของแตงโม ปรากฏว่าพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ แต่พบในปริมาณต่ำ ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด แต่เพื่อความปลอดภัยก่อนนำแตงโมไปผ่ารับประทาน หรือพ่อค้าแม่ค้านำไปผ่าขายโดยหั่นเป็นชิ้น ๆ ใส่ถุง ควรล้างเปลือกให้สะอาดก่อน จะทำให้ลดปริมาณสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยจากการได้รับสารพิษตกค้างด้วย
 
          สรุปว่า แตงโมไทยมีความปลอดภัย ไม่มีการฉีดสี หรือสารให้ความหวาน ผู้บริโภคสบายใจได้ในการรับประทานแตงโมไทย ผลไม้ที่มีประโยชน์และปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรไทยอีกทางหนึ่งด้วย
           ที่มา : เว็บไซต์เดลินิวส์
                    http://www.thaihealth.or.th/
                   ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต
 
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


Web Master : ครูนงลักษณ์

นงลักษณ์ ชูทัน
  น.ส.นงลักษณ์ ชูทัน

สารพัดลิงค์







เรื่องน่ารู้



ผู้ที่เป็นครูจะต้องถือเป็นหน้าที่อันดับแรก ที่จะต้อง ให้การศึกษา คือ สั่งสอนอบรมอนุชนให้ได้ผลแท้จริง ทั้งในด้านวิชาความรู้ ทั้งในด้านจิตใจ และความประพฤติ ทั้งต้องคิดว่างานที่แต่ละคนกำลังทำอยู่นี้คือความเป็นความตายของประเทศ เพราะอนุชนที่มีความรู้ความดีเท่านั้นที่จะรักษาชาติบ้านเมืองไว้ได้…
(พระราชดำรัส : ๒๕๑๕)